#See2020 | EP. 06 : สายตาเอียง… “เขียนหนังสือไม่ตรง” จริงหรือไม่?
top of page

#See2020 | EP. 06 : สายตาเอียง… “เขียนหนังสือไม่ตรง” จริงหรือไม่?

อัปเดตเมื่อ 31 ต.ค. 2566



สายตาเอียง… “เขียนหนังสือไม่ตรง” จริงหรือไม่ ? โดย นพ.พิชิต นริพทะพันธุ์ | TRSC International LASIK Center

อันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด... การเขียนหนังสือไม่ตรงนั้น เป็นลักษณะนิสัยของแต่ละคนมากกว่า การเขียนหนังสือตัวเอียง มองคอเอียง ตีเส้นแล้วเอียง อันนี้จะเป็นจากลักษณะนิสัย ไม่เกี่ยวกับสายตาเอียง

-----


>> รู้หรือไม่… สายตาเอียงคืออะไร ?

  • สายตาเอียง หรือ Astigmatism เป็นความผิดปกติทางสายตา ที่เกิดจากความโค้งของกระจกตาในแต่ละแกนนั้นโค้งไม่เท่ากัน สามารถเกิดได้กับคนที่มีสายตาสั้น หรือยาวโดยกำเนิด ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับคนที่มีสายตาสั้น เพราะว่า..ความโค้งกระจกตาในบางคนไม่ได้เป็นทรงกลม ในบางคนจะเป็นทรงรักบี้หรือรูปสองแกนที่ไม่เท่ากัน

--


>> แล้วจะรู้ได้อย่างไร... ว่าเรามีสายตาเอียง ?

  • คนที่มีสายตาเอียง จะมีปัญหาเรื่องความคมชัดของภาพ จะเห็นภาพมีเงาซ้อน คือ ทั้งมัวและซ้อนทับกัน ซึ่งเส้นขอบของภาพจะลักษณะเป็นเงาๆ ทำให้แยกเลขที่มีหน้าตาคล้ายกันค่อนข้างยาก อย่างเช่น ตัวเลข 3 6 8 9


>> ใครบ้าง... ที่เป็นสายตาเอียงได้ ?

  • ทุกคนสามารถเกิดสายตาเอียงได้ เหมือนกับสายตาสั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของพันธุกรรม


>> สายตาเอียง... สามารถเอียงเพิ่มขึ้นได้ไหม ?

  • มีโอกาสที่จะสายตาเอียงเพิ่มขึ้นได้ สายตาเอียงจะคงที่ ที่อายุประมาณ 18-20 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละคน

--


>> สายตาเอียง มีกี่ประเภท ?

สายตาเอียง เราสามารถแยกได้หลายประเภท ได้แก่

  • Simple Myopic Astigmatism คือ เอียงในแนวแกนเดียว แกนหนึ่งเป็นตาปกติ อีกแกนในตาเดียวกัน ซึ่งแกนมักจะตั้งฉากกันเป็นสายตาสั้น

  • Compound Myopic Astigmatism คือ สายตาสั้นทั้งสองแนวแกนแต่ปริมาณสายตาสั้นไม่เท่ากัน

  • Simple Hyperopia Astigmatism คือ สายตาเอียง ที่แกนหนึ่งเป็นตาปกติ อีกแนวแกนเป็นสายตายาวโดยกำเนิด

  • Compound Hyperopic Astigmatism คือ สายตาเอียง โดยมีสายตายาวโดยกำเนิดด้วยทั้งสองแนวแกนแต่ปริมาณไม่เท่ากัน

  • Mixed Astigmatism คือ สายตาเอียง ที่มีแกนหนึ่งมีสายตาสั้น อีกแกนมีสายตายาวโดยกำเนิด


-----


>> สายตาเอียง... รักษาอย่างไรได้บ้าง ?

  • สายตาเอียงส่วนใหญ่เป็น Compound Myopic Astigmatism ซึ่งสั้นทั้ง 2 แนวแกนในปริมาณที่ไม่เท่ากัน การรักษาก็คล้ายกับสายตาสั้น ก็คือ การแก้ด้วยเลนส์เว้า แต่ใช้ร่วมกันกับเลนส์ทรงกระบอก ซึ่งจะช่วยลด หรือแก้ไขสายตาเอียง เพราะเลนส์เว้าจะแก้ได้ทั้งหมด 360 องศา แล้วก็ใช้เลนส์ทรงกระบอก มาช่วยแก้ส่วนที่เหลือ ทำให้การมองเห็นภาพคมชัดมากขึ้น เพียงแต่การแก้ด้วยแว่น ในคนไข้ที่มีสายตาเอียงมากๆ อาจจะเกิดความเพี้ยนของภาพได้ ส่วนการแก้ด้วยวิธีอื่น อย่างเช่น การแก้ด้วยคอนแทคเลนส์ที่มีสายตาเอียงร่วมด้วย หรือการแก้ด้วยเลเซอร์ ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ เป็นการแก้ที่แนวระนาบของกระจกตา ทำให้ความเพี้ยนของภาพน้อย วิธีที่ใส่คอนแทคเลนส์กับเลเซอร์เราจึงสามารถแก้สายตาได้อย่างเต็มที่


 

จากประสบการณ์รักษาสายตาผิดปกติกว่า 25 ปี TRSC กำลังตอบคำถามยอดฮิต ที่ท่านข้องใจเกี่ยวกับสายตา ในคอลัมน์ #See2020 by TRSC ท่านใดที่มีคำถามเพิ่มเติมหรืออยากเสนอหัวข้อสำหรับ #See2020 ในอนาคต TRSC รับฟังท่านอยู่ใน comments!

ดู 1,639 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page