ศูนย์จอประสาทตา และเบาหวานเข้าตา
จอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration: AMD) คือ ภาวะที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ซึ่งพบได้มากในคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป มีสาเหตุจากจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งโรคจอประสาทตาเสื่อมเกิดขึ้นไ ด้จากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและประเภท
โรคเกี่ยวกับจอประสาทตา
จอประสาทตาหรือ Retina เป็นส่วนประกอบดวงตาที่อยู่บริเวณหลังผนังด้านในสุด มีลักษณะเป็นชั้นบางๆ ประกอบไปด้วยเซลล์รับภาพจำนวนมาก ในภาวะที่จอประสาทตาปกติ เมื่อเราใช้สายตาเพื่อมอง แสงที่กระทบและหักเหผ่านเลนส์ตาจะมาตกกระทบจุดศูนย์กลางของจอประสาทตาพอดี ทำให้ภาพที่มองเห็นมีความคมชัด เราจึงสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างอิสระ แต่เมื่อไรก็ตามที่เกิดปัญหาขึ้นกับจอประสาทตา การมองเห็นภาพก็ย่อมได้รับผลกระทบโดยตรง
ปัญหาของจอประสาทตาที่พบได้บ่อยมีดังนี้
-
จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ เป็นภาวะความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย พบได้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มักมีอาการตามองไม่ชัดเฉพาะตรงกลางภาพ แต่เห็นภาพข้างๆ ได้เหมือนเดิม บางรายอาจเห็นภาพบิดเบี้ยว
-
เบาหวานขึ้นจอกระสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นมากที่สุดของคนวัยทำงาน ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ เลย ในขณะที่โรคดำเนินไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม อาการที่อาจบ่งชี้ว่าอาจนำไปสู่ภาวะปัญหาที่จอประสาทตา ได้แก่ การมองเห็นภาพแย่ลง เห็นเงา หรือมองเห็นจุดดำลอยไปมาในตา สิ่งสำคัญคือ ผู้ป่วยเบาหวานควรตระหนักถึงความเสี่ยงของตนเอง และปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจตาสำหรับผู้ป่วยเบาหวานสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ หากตรวจแล้วแม้จะไม่พบความผิดปกติ แพทย์ยังต้องนัดเข้ามาตรวจเป็นระยะๆ เพื่อติดตามดูความเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตาเพื่อจะได้รับมือกับผลกระทบที่เกิดกับจอประสาทตาได้ตั้งแต่แรกเริ่ม
-
จอประสาทตาเสื่อมจากพยาธิสภาพของจอตาเอง มักเป็นมาแต่กำเนิด เช่น จอประสาทตาบางกว่าปกติ มีรูขาด หลุดลอก หรือจอประสาทตาเสียหายจากภาวะสายตาสั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในผู้ที่มีสายตาสั้นมากๆ
นอกจากนี้ ยังมีโรคของจอประสาทตาที่เกิดจากโรคเลือดบางอย่างทั้งเลือดข้นมากและเลือดจาง โรคในกลุ่มภูมิต้านตนเอง (autoimmune disease) โรคติดเชื้อ รวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดกับดวงตาหรือปัญหาจากการผ่าตัดดวงตา
สาเหตุ ของโรคจอประสาทตาเสื่อมคืออะไร ?
มีหลายภาวะที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ เช่น คนที่มีสายตาสั้นมาก ๆ (Degenerative or Pathologic Myopia) หรือโรคติดเชื้อบางชนิด แต่สาเหตุส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ จึงเชื่อว่าเป็นขบวนการเสื่อมสภาพของร่างกาย (Aging Process) แต่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน มีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านที่ส่งผลต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (Aged related macular degeneration) ได้แก่
-
อายุ พบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
-
พันธุกรรม มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของคนที่เป็นโรคกับญาติสายตรง ผู้เกี่ยวข้องควรได้รับการตรวจเช็คจอประสาทตาทุก ๆ 2 ปี
-
เชื้อชาติ / เพศ พบอุบัติการของโรคมากที่สุดในคนผิวขาว (Caucasian) เพศหญิง อายุมากกว่า 60 ปี
-
การดื่มสุรา และสูบบุหรี่ มีหลักฐานทางการศึกษาพบว่า การดื่มสุรา และสูบบุหรี่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอย่างชัดเจน
-
ความดันเลือดสูง ผู้ป่วยที่ต้องทานยาลดความดันเลือด และมีระดับของไขมัน Cholesterol ในเลือดสูง และระดับ Carotenoid ในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว (Wet AMD)
-
วัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับประทานยาฮอร์โมน Estrogen พบว่าอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน
-
การได้รับแสง รังสีอัลตราไวโอเลต และแสงสีฟ้าที่เป็นแสงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอสมาร์ทโฟน เป็นระยะเวลานาน
อาการของโรคประสาทตาเสื่อมเป็นอย่างไร ?
-
ภาพบิดเบี้ยว มองเห็นเส้นตรงเป็นเส้นขาด
-
มองภาพ หรืออ่านหนังสือที่ต้องใช้งานละเอียดยากกว่าปกติ
-
มองไม่เห็นส่วนกลางของภาพ
-
การมองภาพต้องใช้แสงเพิ่มขึ้น มองเห็นลดลง ไม่ตรงกลางเส้น การมองเห็นสีลดลง
ทีมจักษุแพทย์ TRSC
จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำวุ้นและจอประสาทตา