ประเภทการตรวจ ที่ TRSC | TRSC International LASIK Center | กรุงเทพมหานคร
top of page
51236149_l.jpg
  • ประเภทการตรวจ

1. การตรวจวิเคราะห์สภาพตา ก่อนทำการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ 
   ใช้เวลาประมาณ 3.5 ชม. (นับจากเวลานัดหมาย) ประโยชน์ของการตรวจวิเคราะห์สภาพตา คือ

  • เพื่อพิจารณาว่า ดวงตาของท่านมีสุขภาพตาสมบูรณ์ หรือมีโรคตาหรือไม่

  • เพื่อพิจารณาว่า ท่านเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการรักษาหรือไม่

    ในกรณีที่ท่านรักษาได้ ท่านและแพทย์ผู้ทำการรักษาจะร่วมกันพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับท่าน รวมถึงโอกาสสำเร็จและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์สภาพตา

  1. Pre-Screening เกี่ยวกับดวงตาและสุขภาพของท่าน

  2. ท่านรับชมและศึกษาข้อมูลการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ ณ TRSC Educational Center 30 นาที

  3. เข้าสู่กระบวนการตรวจวัดเครื่องมือแพทย์ต่างๆ อย่างละเอียด ดังนี้

  • ตรวจค่าความเพี้ยนในการรวมแสงระดับสูง ด้วยเครื่อง Wasca

  • ตรวจวัดความหนาของกระจกตา ด้วยเครื่อง Visante

  • ตรวจค่าความโค้งความหนาของกระจกตา ด้วยเครื่อง Galilei

  • ตรวจวัดขนาดรูม่านตาในที่มืด ด้วยเครื่อง Pupilometer

  • ตรวจวัดสายตาด้วยเครื่อง Auto Refractometer

  • ตรวจวัดระดับการมองเห็น โดย TRSC Certified Refractionist

  • ตรวจวัดค่าความดันตา ด้วยเครื่อง Icare

  • หยอดยาขยายม่านตา

  • ตรวจวัดค่าสายตาหลังการขยายม่านตา

  4. ทบทวนขั้นตอนการตรวจต่างๆ และความเข้าใจการรักษาโดยที่ปรึกษาส่วนตัวของท่าน

  5. ตรวจวิเคราะห์สภาพตา และสรุปผลการตรวจทั้งหมด โดยจักษุแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด

2. การตรวจติดตามหลังการผ่าตัด 

ผู้เข้ารับการรักษาที่ TRSC ได้รับการตรวจติดตามหลังการรักษา จำนวน 5 ครั้งโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม คือ หลังผ่าตัด 1 วัน, 1 สัปดาห์, 1 เดือน, 3 เดือน, และ 1 ปี และ/หรือ ตามที่แพทย์เห็นสมควร

การตรวจติดตามหลังผ่าตัด:  

  • 1 วัน เพื่อประเมินความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด

  • 1 สัปดาห์ เพื่อติดตามผลการรักษามีผลข้างเคียงเกิดขึ้นหรือไม่ 

  • 1 เดือน เพื่อบันทึก และทดสอบค่าสายตาอย่างละเอียด 

  • 3 เดือน เพื่อทดสอบ และติดตามความคงที่ของค่าสายตา และเพื่อประเมินว่าผลการรักษาเป็นไปตามที่ผู้เข้ารับการรักษาคาดหวังหรือไม่

  • 1 ปี เพื่อติดตามค่าสายตา และตรวจสุขภาพตาประจำปี

3. การตรวจสุขภาพตาประจำปี

โรคทางตาบางโรคจะไม่แสดงอาการ จนกว่าจะอยู่ขั้นที่รุนแรง ซึ่งอาจไม่สามารถรักษาให้เป็นปกติได้ เช่น โรคต้อหิน พบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งไม่มีอาการใดๆ 

  • ผู้ที่มีสายตาผิดปกติ มีโอกาสเสี่ยงจะเกิดโรคทางตาบางชนิดสูงกว่าคนปกติ ควรเข้ารับการตรวจตาอย่างละเอียด ปีละ 1 ครั้ง 

  • ผู้ที่มีสายตาปกติ ควรเข้ารับการตรวจตาอย่างละเอียดสองปีต่อหนึ่งครั้ง และเมื่อท่านอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดปีละ 1 ครั้ง

bottom of page