รู้วิธีรักษาสายตาสั้น / สายตายาว ปัญหาดวงตาที่ไม่ควรมองข้าม
ภาวะสายตาผิดปกติเป็นปัญหาที่ถูกพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคดิจิทัล โดยในบางประเทศกว่า 80% ของประชากรพบว่ามีภาวะสายตาสั้น เราจะพาไปเจาะลึกถึงภาวะสายตาสั้นและสายตายาวว่าสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง รวมถึงมีวิธีรักษาอย่างไร
>> ภาวะสายตาสั้น (Myopia)
สายตาสั้นเกิดจากกำลังการรวมแสงของตามากเกินไป เมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา อาจเกิดจากกระจกตาโค้งมากเกินไป หรือขนาดลูกตายาวเกินไป เมื่อมองวัตถุที่อยู่ไกลจะทำให้เห็นไม่ชัดเจน แต่มองใกล้ได้ดี ในวัยเด็กการใช้สายตามาก ๆ การจ้องคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ต จะมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นได้มากกว่าในวัยผู้ใหญ่ และภาวะสายตาสั้นสามารถเกิดจากกรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวมีประวัติเคยสายตาสั้น ก็อาจจะมีโอกาสเป็นภาวะสายตาสั้นได้เช่นกัน
>> ภาวะสายตายาว
สายตายาวแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1. สายตายาวโดยกำเนิด (Hyperopia) เกิดจากกำลังแสงของตาน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา อาจเกิดจากการที่กระจกตาแบนเกินไป หรือขนาดลูกตาสั้นไป แสงถึงจอประสาทตาก่อนรวมจุดรับภาพ ทำให้มองเห็นไม่ชัดทั้งใกล้และไกล ในวัยเด็กส่วนใหญ่จะยังไม่ทราบว่าเป็นภาวะสายตายาวโดยกำเนิด เพราะยังสามารถมองเห็นได้ดีเนื่องจากกล้ามเนื้อตาที่ช่วยในการเพ่งยังดีอยู่ แต่เมื่ออายุมากขึ้นกล้ามเนื้อตามีการเสื่อมสภาพทำให้ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง
2. สายตายาวตามอายุ (Presbyopia) เกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อตา เมื่ออายุเข้าวัย 40 ปี จะเริ่มสังเกตได้ว่าเริ่มมีปัญหาในการมองใกล้ โดยที่ยังมองไกลได้เหมือนเดิม สายตายาวตามอายุเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและส่วนหนึ่งก็เพราะการมีอายุที่มากขึ้น ซึ่งจะมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงอายุประมาณ 60 ปี ผู้ที่มีภาวะสายตาผิดปกติประเภทอื่น เช่น สายตาสั้น ก็ยังสามารถมีสายตายาวตามอายุร่วมด้วย
>> วิธีการรักษาสายตาสั้น/สายตายาว
ผู้ที่มีสายตาผิดปกติ โดยทั่วไปอาจหาแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ที่มีค่าสายตาเหมาะสมเข้ามาช่วยในการมองเห็น และมีอีกวิธีในการรักษาสายตาผิดปกติแบบถาวร โดยไม่ต้องพึ่งแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ คือการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ (สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด สายตาเอียง และสายตายาวตามอายุ) ด้วยเลเซอร์ หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าการทำ “เลสิค” โดยใช้เลเซอร์ปรับความโค้งของกระจกตา เพื่อปรับการหักเหของแสงที่ผ่านเข้าดวงตา การทำเลสิคสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป และมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน รวมทั้ง Super ReLEx (SMILE Pro), ReLEx SMILE , FemtoLASIK , LASIK , PRK และ Near Vision LASIK/FemtoLASIK ซึ่งใช้เทคโนโลยีและวิธีการที่แตกต่างกัน สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์ได้ ก็ยังมีวิธีการรักษาโดย การใส่เลนส์เสริม (Phakic IOL) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นท่านควรเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตาและประเมินเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับท่าน
หากสนใจสอบถามข้อมูลการทำเลสิคที่ TRSC สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
โทรศัพท์ : 02 632 4500
Messenger : TRSC International LASIK Center
Instagram : trsclasik
Line OA : @trscfamily
Comentarios