ศูนย์เลสิค รักษาสายตายาว
-
Presbyopia ภาวะสายตายาวตามอายุ
ภาวะผิดปกติทางสายตาที่เกิดจากกระจกตาแบนเกินไป หรือขนาดของลูกตาสั้นเกินไปเมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา การรวมแสงจึงตกหลังจอประสาทตา ทำให้ไม่สามารถมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่มองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ชัดเจน หรืออาจเห็นไม่ชัดทั้งระยะใกล้และไกล ซึ่งอาการสายตายาวที่เป็นตั้งแต่กำเนิด เรียกว่า สายตายาวโดยกำเนิด (Farsightedness) มักจะพบว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ที่มีสายตายาวอยู่ก่อนแล้วอาจจะเกิดภาวะสายตายาวตามอายุ (Presbyopia)
สายตายาว (Hyperopia) เกิดได้จาก
1. สายตายาวโดยกำเนิด (Farsightedness)
2. สายตายาวตามอายุ (Presbyopia)
สายตายาวโดยกำเนิด (Farsightedness)
ปัญหาสายตายาวที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก และมักจะเป็นโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากวัยเด็ก เป็นวัยที่กล้ามเนื้อตามีความยืดหยุ่นได้ดี ทำให้มีส่วนช่วยในการเพ่งสายตา จึงไม่ค่อยมีผลกระทบต่อภาพที่เห็นมากนัก แต่เมื่อเริ่มโตขึ้น กล้ามเนื้อตาค่อยๆ เสื่อมลง ทำให้อาการสายตายาวโดยกำเนิด ค่อยๆ ปรากฏออกมาชัดเจนยิ่งขึ้น
โดยสามารถสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น มีอาการคล้ายตาเข เมื่ออ่านหนังสือ เขียน หรือวาดภาพไปสักระยะหนึ่งแล้ว เริ่มมีอาการปวดหัว ปวดตา ตาล้า ขาดความสนใจในการทำสิ่งต่างๆ หรือขยี้ตาบ่อยๆ ซึ่งหากพฤติกรรมเหล่านี้ิ แนะนำให้เข้ารับการตรวจตา กับจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้น
สายตายาวตามอายุ (Presbyopia)
-
เมื่ออายุมากขึ้นเลนส์ตาจะแข็งตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น ไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างและโฟกัสในระยะใกล้ได้ โดยอาการดังกล่าวเรียกว่าภาวะสายตายาวตามอายุ
-
สายตายาวตามวัยไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะเมื่ออายุขึ้นวัยเลข 4 การเปลี่ยนแปลงของดวงตาย่อมมาเยี่ยมเยือน เลนส์แก้วตายืดหยุ่นน้อยลง การปรับโฟกัสของเลนส์ตาแย่ลง มองใกล้ไม่ชัด ต้องมองระยะไกลถึงจะชัด ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
-
ท่านสามารถสังเกตตัวท่านเองได้จาก ระยะของการอ่านหนังสือเบื้องต้น หากในระยะเดิมเริ่มมองเห็นได้ไม่ชัดเจน ต้องมีการยื่นวัตถุให้ห่างจากตนเองออกไปมากขึ้น จากความสามารถที่เคยอ่านหนังสือใกล้ได้สบายเริ่มมองไม่ชัด ต้องถือหนังสือให้ห่างจากตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนเหยียดสุดแขนก็ยังไม่ชัด หรือพยายามเพ่งอย่างหนักจึงจะเห็นได้ชัดเจน หรือแม้กระทั่งการต้องถอดแว่นสายตาสั้น เพื่อมองในระยะใกล้ๆ ก็อาจเป็นสัญญาณว่า ท่านกำลังมีภาวะสายตายาวตามอายุ
-
ภาวะสายตายาวตามอายุเป็นภาวะที่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อตาสูญเสียประสิทธิภาพโดยธรรมชาติตามอายุ ทำให้มองวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ยากขึ้น ภาวะสายตายาวตามอายุมักมีผลมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงอายุ 60 ปี
อาการสายตายาวตามอายุ
-
มองเห็นวัตถุระยะใกล้ไม่ชัด ต้องหรี่ตาเมื่อมองใกล้ และอาจมองเห็นไม่ชัดทั้งใกล้และไกลเมื่อเป็นมากขึ้น
-
ไม่สบายตา ปวดตาและรอบดวงตา หรือปวดศีรษะจากการโฟกัสเพ่งมองระยะใกล้เป็นเวลานาน
-
มองเห็นภาพซ้อน เพราะต้องเพ่งสายตาในการมองวัตถุอย่างหนัก
-
มองภาพไม่ชัดเวลากลางคืน
-
มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การอ่านหนังสือ ใช้สายตาดูหน้าจอต่างๆ เย็บผ้า ขับรถยนต์ แต่งหน้า ทำอาหาร ฯลฯ
ปัญหาจากสายตายาว
แต่ละคนอาจมีปัญหาสายตายาวเร็วหรือช้าแตกต่างกัน บางคนก่อนอายุ 40 ปีจะเริ่มรู้สึกว่ามองระยะใกล้ลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่ไฟสลัวๆ แต่เมื่ออยู่ในที่สว่างจะอ่านได้ดี แต่เกือบทุกคนจะประสบปัญหาสายตายาวเมื่ออายุ 45 ปี ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือและใช้สายตาในชีวิตประจำวันลดลง ปัญหาสายตายาวที่ไม่ได้รับการแก้ไขส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ไม่สามารถทำกิจกรรมหรือทำงานที่ต้องการได้ มีความสุขน้อยลงในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องหรี่ตาเพ่งมองใกล้ๆ ทำให้เสียบุคลิกภาพ บางครั้งอาจเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถ หรือเกิดอันตรายหากทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
เทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษาด้วยวิธี Presbyopia
เทคโนโลยีใหม่ในการแก้ไขสายตายาวตามอายุ และสายตาสั้น เอียง สายตายาวแต่กำเนิดพร้อมกัน ทำให้สามารถมองเห็นระยะใกล้ ระยะกลาง และระยะไกลชัดเจนในตาเดียวกัน โดยไม่ต้องพึ่งแว่นสายตา ประสิทธิภาพในการมองเห็นดียิ่งขึ้น ด้วยขั้นตอนการทำเลสิกคือใช้เทคโนโลยีเลสิกไร้ใบมีด (เลเซอร์ทุกขั้นตอน) โดยการเพิ่มความโค้งกระจกตาแบบพิเศษที่เรียกว่า Spherical Aberration เพื่อเพิ่มความยาวโฟกัสมากขึ้น Depth of Focus แล้วใช้เลเซอร์แก้ไขความโค้งกระจกตาบริเวณด้านนอก หรือ เทคโนโลยี การใช้คลื่นวิทยุ Radiofrequency แทนเลเซอร์ โดยใช้ความร้อนเป็นจุดเล็กๆ ส่งผ่านไปยังบริเวณเนื้อเยื่อกระจกตา ทำให้คอลลาเจนไฟเบอร์หดตึงตัวขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนให้กระจกตาโค้งนูนขึ้น หรือเทคโนโลยีการแก้ไขปัญหาสายตาสั้นและสายตายาวตามอายุ โดยแก้ไขตาข้างที่ถนัด (Dominance Eye) ให้สามารถมองเห็นในระยะไกลชัดเจน ส่วนตาข้างที่ไม่ถนัด (Non Dominance Eye) จะแก้ไขให้สายตาสั้นเล็กน้อย เพื่อใช้ในการมองระยะใกล้ได้ชัดเจน ไปพร้อมกับการปรับการแปลผลการมองเห็นของสมอง
จากเทคนิคการผ่าตัดแก้ไขสายตายาว จะแก้ไขตามรูปแบบการใช้สายตา และภาวะสายตาและกายวิภาคตา ของแต่ละบุคคล เนื่องด้วยแต่ละท่านจะมีความถนัดของดวงตาแต่ละข้างต่างกัน เหมือนมือที่ถนัดซ้าย-ขวา คือ
-
ตาข้างที่ถนัด (Dominant) หรือตาหลัก คือ ดวงตาข้างที่ส่งข้อมูลการมองเห็นไปยังสมองมากกว่าดวงตาอีกข้าง และ มีความแม่นยำมากกว่า เป็นดวงตาข้างที่ท่านใช้เล็งจุดเล็กๆ ด้วยการหลับตาหนึ่งข้าง เช่น การยิงปืน หรือ ยิงธนู เสมอ
-
ตาข้างที่ไม่ถนัด (Non Dominant) หรือตารอง
ท่านสามารถเช็คดวงตาตาข้างที่ถนัด หรือตาหลัก-รอง ได้ง่ายๆ ด้วย
1. ใช้มือทั้งสองข้างมาประกอบกันให้เป็นรูปสามเหลี่ยม และยื่นออกไปข้างหน้าให้สุดแขน
2. หลับตาทีละข้างมองผ่านสามเหลี่ยม และ เล็งไปที่วัตถุใดวัตถุหนึ่ง โดยไม่ขยับมือ
3. หากยังเห็นภาพอยู่ที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง นั่นคือ ตาข้างที่ถนัด หรือ ตาหลัก ส่วนตาที่ไม่เห็นภาพ หรือ มองไม่ชัดเท่าอีกข้าง นั่นคือ ตารอง
หรือจะเข้ามาที่ TRSC เพื่อทดสอบไปพร้อมกับการตรวจสุขภาพตาประจำปี
ผู้ที่เหมาะสมสำหรับการรักษาด้วยวิธี TRSC - Presbyopia
-
มีอายุประมาณ 45 ปีขึ้นไป
-
กำลังประสบปัญหา หรือ มีความไม่สะดวกกับการมองระยะใกล้ หรือมีภาวะสายตายาว
-
สุขภาพแข็งแรง และไม่มีโรคทางตาต่างๆ
-
มีความรู้ และความเข้าใจ ที่ถูกต้องถึงข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการรักษาแบบ TRSC - Presbyopia
ทีมจักษุแพทย์ TRSC
Refractive Surgery Specialist | จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระจกตา และการผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ